top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนi-Admin

People Analytics – กลยุทธ์บริหารคนที่ควรใช้ เสริมแกร่งให้ทีมและองค์กร

อัปเดตเมื่อ 23 มิ.ย. 2566



People Analytics หรือ HR Analytics ถือเป็นกระบวนการที่ใช้ดาต้ามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้น โดยข้อมูลที่ถูกนำมาใช้จะได้มาจากดาต้าที่มีเนื้อหาสอดคล้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลของพนักงาน ซึ่งจะถูกจัดเก็บผ่านระบบ HR อย่างเช่น Payroll, ระบบจัดการ HR และดูแลวันลา รวมไปถึงระบบจัดการ KPI ทั้งหมดช่วยชี้ให้เห็นถึงข้อมูลเชิงลึกในด้านการทำงาน นโยบาย HR และการนำไปใช้จริง ทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณเห็นภาพในวงกว้างและช่วยในการตัดสินก้าวถัดไปได้


ทุกวันนี้ People Analytics กลายมาเป็นกลยุทธ์ที่หลายๆ องค์กรเริ่มหันมาให้ความสนใจ และนี่คือ 6 เหตุผลว่าทำไม People Analytics จึงเอื้อประโยชน์ให้องค์กรของคุณได้


การนำข้อมูลพนักงานที่มีอยู่มาใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการทำงาน

ด้วยความที่ระบบ Analytics ถูกสร้างขึ้นจากดาต้า และในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็ได้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลตรงส่วนนี้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ระบบ Server ที่มีฐานข้อมูลอยู่บนคลาวด์อนุญาตให้มีการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างไม่จำกัดความจุ เมื่อเทียบกับระบบจัดเก็บข้อมูลแบบที่เป็นไฟล์เอกสารจริง ระบบอัตโนมัติช่วยให้การดึงจ้อมูลเป็นไปอย่างง่ายดาย อยากเข้าถึงข้อมูล เมื่อไร ในสถานการณ์ไหน ก็สามารถทำได้ทั้งนั้น ข้อมูลในส่วนนี้มักถูกนำมาใช้เพื่อรายงานผลตัวชี้วัด (Key Metrics) และประสิทธิภาพในการงานทำงาน อย่างเช่นจำนวนพนักงานที่ลาออก จ้างใหม่ รวมไปถึงการเข้างาน


ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามาพัฒนาศักยภาพของระบบ Analytics ได้มีส่วนช่วยให้ขยายขอบเขตความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในการทำงานมากขึ้นไปอีก อย่างเช่น การวิเคราะห์แนวโน้มกระแสที่อาจเกิดขึ้น และคาดการณ์ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น


รวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง สู่ข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้งานได้จริง

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทุกวันนี้ได้มีส่วนในการสร้างเครือข่ายข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหลากหลายระบบที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น ระบบซอฟต์แวร์บริหาร HR (HRMs) ที่มักจะเชื่อมต่อกับระบบบัญชีหรือการจัดการเวลา เครือข่ายข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นนี้เองได้กลายมาเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลพนักงาน การเข้าถึงฐานข้อมูลกลางนี้เพียงแค่อย่างเดียว ก็ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดึงข้อมูลเชิงลึกและทราบถึงทิศทางรูปแบบการทำงานที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว สิ่งเหล่านี้ถือเป็นฟังก์ชันที่เอื้อประโยชน์ในการทำงานด้าน HR ในแบบที่ซอฟต์แวร์ HR ไม่สามารถทำได้มาก่อน


เตรียมพนักงานให้พร้อมรับอนาคต ด้วยการคาดการณ์จาก People Analytics

เมื่อการวิเคราะห์ผู้คนเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มในอดีต สิ่งนี้จะปูทางไปสู่การคาดการณ์แนวโน้ม ด้วยข้อมูลบุคลากรจำนวนมหาศาล องค์กรสามารถตั้งสมมติฐานที่สมเหตุสมผลเกี่ยวกับพนักงานของตนในแง่ของระดับผลิตภาพ การจ้างงานใหม่ หรืออัตราการลาออก การคาดการณ์กำลังคนเหล่านี้ซื้อเวลาให้องค์กรเพื่อเตรียมกำลังคนสำหรับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาโอกาสในการพัฒนาอาชีพหรือการสร้าง โซลูชันที่ตรงเป้าหมายตามแผนกหรือระดับอาชีพที่เกี่ยวข้อง


ลดความซับซ้อนในการทำงานด้วยประโยชน์ของดาต้าและการวิเคราะห์ข้อมูล

ประโยชน์อย่างหนึ่งของ People Analytics คือการวัดระดับประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน หากผลที่ได้ออกมาไม่เป็นไปตามที่ตั้งเอาไว้จะได้แก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที ผลเหล่านั้นอาจชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องในกระบวนการทำงานที่อาจเป็นเรื่องของตัวบุคคลเอง หรือระบบการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ตอบโจทย์วิธีการทำงานของทีม หรืออาจเป็นผลจากทั้ง 2 องค์ประกอบรวมกันก็เป็นได้ การรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถปรับปรุงและพัฒนาได้อย่างถูกจุด เพิ่มศักยภาพในการทำงานของทีม และประสิทธิภาพของผลงานที่ทำ


การสร้างรูปแบบการทำงานที่คล่องตัว มอบบทบาทหน้าที่ให้พนักงานทุกคน

ทุกวันนี้หลายองค์กรต้องรับมือกับการขาดแคลนพนักงาน ดังนั้นแล้วจึงเป็นเรี่องสำคัญอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องให้ความใส่ใจกับรูปแบบการทำงานที่พนักงานทุกคนจะได้มีส่วนร่วม ซึ่งยังเป็นการพัฒนาความสามารถ และสร้างโอกาสทำงานในหลากหลายสายงานให้อีกด้วย กลยุทธ์นี้จะช่วยเติมไฟในการทำงานให้พนักงานหลายๆ คนที่อาจกำลังหมดไฟ และเริ่มมองหาบริษัทใหม่ๆ ที่พวกเขาจะได้กลับมามีแรงใจในการทำงานได้อีกครั้ง หากคุณเพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนที่หายไปนี้ให้พนักงานของคุณได้ ก็จะช่วยชะลอการลาออกของพนักงานซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนพนักงานได้


ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

การเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ช่วยลดต้นทุนในการจ้างงานในแต่ละแผนก อย่างเช่น HR หรือบัญชี ทำให้คุณหันมาสนใจพัฒนาโมเดลธุรกิจ รวมไปถึงปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณมาลงทุนในส่วนนี้ได้มากขึ้น

ดู 133 ครั้ง0 ความคิดเห็น
Post: Blog2_Post
bottom of page